Exercise Effectively with More Fun & Boost Your Motivation with Garmin Smartwatch

Exercise Effectively with More Fun & Boost Your Motivation with Garmin Smartwatch

Stay active and meet the needs of today’s generation with Garmin smartwatches. Perfect for both professional athletes and beginners, these watches are equipped with advanced features to enhance the efficiency of your exercise routines, be it running, cycling, golfing, swimming, or diving. In addition to measuring heart rate and tracking sleep and stress levels, Garmin smartwatches also offer useful features like menstrual cycle and pregnancy tracking, music and social media connect, and contactless payment via Garmin Pay or Rabbit card, which allows for more convenient travel.

Furthermore, Garmin Tacx, an intelligent trainer for cyclists, lets you push your limits and achieve realistic results with adjustable resistance of up to 2,200 watts.

NEWS & EVENTS

Esri Thailand เตรียมโชว์ไฮไลท์เด็ดจากเทคโนโลยี GIS หนุนนวัตกรรมด้านโลเคชัน ขับเคลื่อนองค์กรเติบโตยั่งยืนร่วมกัน ในงาน TUC 15 ส.ค. นี้

Esri Thailand เตรียมอัปเดตเทคโนโลยี GIS ครั้งใหญ่กับงาน Thai GIS User Conference 2024 (TUC 2024) ในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ ภายใต้ธีม ‘GIS – Uniting Our World’ ชูการนำเทคโนโลยี GIS เปลี่ยนความซับซ้อนของข้อมูลเชิงพื้นที่ให้เป็นภาษาที่ทุกคนเข้าใจได้ พร้อมดันนวัตกรรมด้านโลเคชั่นขับเคลื่อนการทำงานแบบบูรณาการ เชื่อมโยงให้ทุกภาคส่วนพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านภัยพิบัติ สภาพภูมิอากาศ การจัดการทรัพยากร และการพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมอัพเดทฟีเจอร์ ArcGIS สุดล้ำที่ตอบโจทย์หลายธุรกิจ มั่นใจสร้างจุดแข็ง และขับเคลื่อนองค์กรเติบโตยั่งยืนไปด้วยกัน ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธาน บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า Esri Thailand มุ่งหวังที่จะนำเทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่อัพเดทจากงาน User Conference 2024 หรือ UC 2024 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยี GIS ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจัดโดย Esri สหรัฐอเมริกา เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มาปรับใช้ในประเทศไทย โดยงานในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ จะเปิดตัวเทคโนโลยี GIS สุดล้ำที่จะมายกระดับการรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากร และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่ ภายใต้ธีม GIS – Uniting Our World’ ที่สามารถสื่อความข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่ซับซ้อน ให้เป็นภาษาหรือข้อมูลในรูปแบบที่ทุกคนเข้าใจร่วมกันได้ หวังสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ พร้อมเชื่อมทุกฝ่ายสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน “ธีมนี้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ และความตั้งใจของ นายแจ็ค เดนเจอร์มอนด์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท Esri สหรัฐอเมริกา ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยี GIS ที่สามารถสร้างความเข้าใจด้วยภาษาเดียวกัน พร้อมรับมือกับความท้าทายด้านภัยพิบัติ และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่จะกระทบกับทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเราพร้อมที่จะผลักดันวิสัยทัศน์นี้ โดยใช้เทคโนโลยี GIS สร้างความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพให้กับทุกองค์กรในการวางแผนได้อย่างรอบด้าน ด้วยจุดเด่นในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลที่ง่ายในการต่อยอดใช้งานเชิงรุกในหลากหลายมิติ ตลอดจนประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแต่ละอุตสาหกรรมได้ เช่น การวางแผนโลจิสติกส์ การหาพื้นที่ศักยภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาด เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีนี้มาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเพื่อเป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันของทุกฝ่าย” ดร.ธนพร กล่าวเสริม ส่วนหนึ่งจากไฮไลท์ของงานคือการนำเสนอหลากหลายโซลูชันที่ช่วยวิเคราะห์และนำเสนอภาพรวมของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในด้านของปัญหาสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติธรรมชาติ รวมไปถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อตอกย้ำถึงเทคโนโลยี GIS สามารถสร้างความเข้าใจ และผลึกกำลังทุกภาคส่วนพร้อมรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันเทคโนโลยี GeoAI ที่เป็นการผสานความสามารถของ Machine Learning และ Deep Learning เข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่ สามารถนำมาสร้าง AI Model สำหรับการวิเคราะห์ โดยใช้โลเคชันเป็นปัจจัยในการสร้าง Model เพื่อคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำและแก้ปัญหาได้ตรงจุด และที่สำคัญอีกหนึ่งไฮไลท์ในปีนี้คือ Generative AI Assistants ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานบน ArcGIS ง่ายขึ้นและสะดวกมากขึ้น รวมถึง Flood Simulation ที่จำลองสถานการณ์น้ำท่วมแบบ 3 มิติ ผ่านการวิเคราะห์แบบ What-if analysis ที่สามารถสร้างสถานการณ์สมมติหลากหลายรูปแบบ ช่วยให้สามารถวางแผนรับมือปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัยที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ “ด้วยธีมดังกล่าวและโซลูชันของเราที่ขนมานำเสนอในงานวันที่ 15 สิงหาคมนี้ เราเชื่อมั่นว่า หากทุกภาคส่วนเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) ที่จะช่วยสร้างจุดแข็งการทำงานภายในองค์กร และเชื่อมโยงให้เกิดการบูรณาการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เห็นเป้าหมายพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคตร่วมกัน ก็จะช่วยยกระดับทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโต มอบคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมน่าอยู่ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมยั่งยืนให้คนรุ่นถัดไป” ดร.ธนพร กล่าวปิดท้าย ทั้งนี้ งานสัมมนาเชิงวิชาการระบบภูมิสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือ TUC 2024 ครั้งที่ 28 ภายใต้ธีม “GIS-Uniting Our World” Esri Thailand มีความยินดีที่จะส่งมอบองค์ความรู้ใหม่ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมด้วย Keynote Speakers อย่าง คุณพงศกร ยุทธโกวิท ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมถึง รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต  ที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์การใช้ GIS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมส่งต่อความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศให้กับผู้ใช้งานในประเทศ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 นี้ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://www.esrith.com/events/tuc2024/ ทั้งนี้ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 13 สิงหาคม 2567   สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.esrith.com __________________________________________________________________________________________ เกี่ยวกับ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้นำด้าน Location Intelligence และเป็นตัวแทนหลักในการจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการของผลิตภัณฑ์ภูมิสารสนเทศชั้นนำจาก Esri Inc ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งภายในประเทศไทยและรวมถึงประเทศในกลุ่ม CLM อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) มีความเชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) สำหรับภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล กองทัพ และภาคการศึกษา พร้อมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.esrith.com

Esri Thailand เร่งพัฒนา AgriTech มุ่งทรานสฟอร์มไทยสู่เกษตรดิจิทัล ชู AI ยกระดับเกษตรแม่นยำ

Esri Thailand เดินหน้าสร้างนวัตกรรมโซลูชันเพื่อยกระดับสังคมรอบด้านอย่างต่อเนื่อง ชูไฮไลท์เทคโนโลยี “ArcGIS for Precision Agriculture” เติมเต็มศักยภาพด้านการเกษตรด้วยเทคโนโลยี AI ที่พัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์สู่การเป็น ‘เกษตรแม่นยำ’ ด้วยโซลูชันที่ครอบคลุมทั้งในด้านความสะดวก บริหารต้นทุน และรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านการเก็บ วิเคราะห์ และติดตามข้อมูลทั้งในเชิงพื้นที่ รวมถึงผลผลิต พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตรไทยสู่ Smart Farmer   บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการพัฒนาแพลตฟอร์ม Location Intelligence ตอกย้ำถึงเบอร์หนึ่งในตลาดเทคโนโลยีการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบอัจฉริยะ ชู “ArcGIS for Precision Agriculture” นวัตกรรมโซลูชันด้านการเกษตร พร้อมพาอุตสาหกรรมไทยสู่เกษตรอัจฉริยะผ่านเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การทำงานในภาคธุรกิจการเกษตรให้พัฒนาสู่เกษตรแม่นยำ และสามารถเข้าถึงนวัตกรรมที่จะต่อยอดธุรกิจรองรับการทำงานครบวงจรตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การติดตาม ไปจนถึงสรุปผลข้อมูลตั้งแต่ต้นถึงปลายน้ำเพื่อการบริหารจัดการต้นทุนให้เหมาะสม เพื่อเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนไปพร้อมกัน     ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธาน บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ที่ผ่านมาเราเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี GIS หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้ตรงจุด ซึ่งอุตสาหกรรมการเกษตรเองก็เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในปี 2566 ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจเกษตรไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดโลกและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) ส่งผลให้แนวโน้มการเติบโตในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง 0.7 – 1.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน   “หลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าอุตสาหกรรมการเกษตรจะเจอความท้าทายจากปัจจัยภายนอกมากมาย แต่เราเล็งเห็นโอกาสที่จะสร้างโซลูชันที่จะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้แก่ภาคธุรกิจเกษตรผ่านความเชี่ยวชาญด้าน Location Intelligence ของเรา จึงเป็นที่มาของโซลูชัน ‘ArcGIS for Precision Agriculture’ ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยยกระดับเกษตรแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยการนำจุดเด่นของเทคโนโลยี GIS ที่บูรณาการข้อมูลการเกษตรทั้งหมดมาไว้ในแพลตฟอร์มเดียว มาวิเคราะห์ร่วมกับ AI, Machine Learning และ Deep Learning เพื่อการวางแผนต่าง ๆ ได้แม่นยำ รวดเร็ว และเข้าใจภาพรวมของพื้นที่ทำการเกษตรได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เช่น ภาพรวมแปลงการเกษตร พื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืช สุขภาพของพืช การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การคาดการณ์ผลผลิตได้แบบไม่ต้องคาดเดา แถมยังประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ซึ่งโซลูชันของเราจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทรานสฟอร์มประเทศไทยไปสู่เกษตรดิจิทัลในอนาคต” ดร.ธนพร กล่าว   เทคโนโลยี GIS เข้ามาตอบโจทย์การทำ Precision Agriculture หรือ เกษตรแม่นยำ ได้แบบครบวงจรโดยรองรับการทำงานครอบคลุม  3 แกนหลัก ประกอบด้วย   การเก็บและรวบรวมข้อมูล ด้านการเกษตรทั้งหมด เช่น แปลงเกษตร ภาพถ่ายดาวเทียม หรือข้อมูลเปิดเผยจากภาครัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ Esri Thailand ยังให้บริการคลังข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางการเกษตร เพื่อนำมาบูรณาการในแพลตฟอร์มกลางร่วมกับข้อมูล อื่น ๆ ทำให้เห็นภาพที่เข้าใจง่าย สำหรับการวิเคราะห์ที่แม่นยำและบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์และคาดการณ์ข้อมูลอย่างแม่นยำ ยกระดับการวิเคราะห์อย่างแม่นยำ และรวดเร็วด้วย “AI Model” ซึ่งเป็นโมเดลที่ดูการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่หรือแปลงเกษตร สุขภาพพืช และวิเคราะห์พื้นที่ศักยภาพในการเพาะปลูก โดยใช้ปัจจัยต่าง ๆ ทางด้านการเกษตร นำไปสู่การคาดการณ์ผลผลิตและการบริหารทรัพยากรให้คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง การบุกรุกป่าตามกฎ EUDR และสัดส่วนคาร์บอนเครดิต การติดตาม สรุปผล และแสดงผล การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์มาสรุปผลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชัน ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามกระบวนการทำงานของผลผลิตทั้งในระดับแปลงเกษตร ระดับพื้นที่ รวมไปถึงระดับประเทศ เพื่อการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Esri Thailand ยังได้พัฒนาแอปพลิเคชันพร้อมใช้งานเพื่อมอนิเตอร์ภาพรวมการเกษตรทั้งหมด ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานได้ทันที เนื่องจากมีข้อมูลและเครื่องมือการวิเคราะห์ที่พร้อม ครบ จบในที่เดียว เช่น ข้อมูลแปลงเกษตร แหล่งน้ำ ข้อมูลดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพอากาศ และข้อมูลภูมิประเทศ เป็นต้น ตลอดจนเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ต่าง ๆ เช่น การหาพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดที่จะชี้เป้าตำแหน่งและพืชพรรณที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม เพื่อการติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกได้แบบ Real-Time และการตัดสินใจที่แม่นยำ นอกจากนี้ แนวทางการพัฒนานวัตกรรมโซลูชันดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและสนับสนุนเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตและการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนรวมถึงเพิ่มช่องทางให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการวางแผนและรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน   “ฟีเจอร์ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่เราได้พัฒนาและนำเสนอภาคธุรกิจการเกษตรให้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ดีกว่า เราตั้งใจที่จะส่งมอบประสบการณ์ที่ดีและตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Solution Provider แบบครบวงจร ซึ่ง Esri Thailand มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและบริการใหม่ ๆ เพื่อยกระดับสังคมในทุกด้านให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทสำคัญ ดังนั้น เราจึงใช้จุดแข็งในด้านนี้พัฒนาและปรับปรุงบริการให้สอดคล้องกับแต่ละอุตสาหกรรม” ดร. ธนพร กล่าวทิ้งท้าย   สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.esrith.com/ —————————————————————– เกี่ยวกับ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้นำด้าน Location Intelligence และเป็นตัวแทนหลักในการจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการของผลิตภัณฑ์ภูมิสารสนเทศชั้นนำจาก Esri Inc ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งภายในประเทศไทยและรวมถึงประเทศในกลุ่ม CLM อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) มีความเชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) สำหรับภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล กองทัพ และภาคการศึกษา พร้อมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.esrith.com

24 ชั่วโมงสุดเข้มข้น เมื่อพลังคนรุ่นใหม่เข้าสู่เวทีประชันไอเดีย สร้างนวัตกรรมโซลูชันสุดล้ำ กับโจทย์สุดหิน ในงาน CDG Hackathon ซีซัน 2

  นวัตกรรมโซลูชันที่ขับเคลื่อนสังคมได้จริง ไม่จำเป็นต้องมาจากองค์กรใหญ่ที่มีต้นทุนให้ลองผิดถูกเสมอไป แต่เกิดได้จาก ‘เพชชั่น’ และพลังไอเดียแปลกใหม่ของคนรุ่นใหม่  บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือกลุ่มซีดีจี ผู้นำด้านบริการเทคโนโลยีอัตลักษณ์ดิจิทัล และ 42 Bangkok กำหนดโจทย์ “ระบบวัดส่วนสูงสำหรับผู้ป่วยติดเตียง” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้สร้างโซลูชัน ผ่านการนำเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาผ่านการเขียนโค้ดมาช่วยเหลือเจ้าในหน้าที่ในการวัดส่วนสูงของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุติดเตียง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การประเมินสุขภาพ ตลอดจนพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ไอเดียเหล่านี้จะลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ และเตรียมพร้อมกับความท้าทายของการเข้าสู่สังคมสูงวัย  เหล่าผู้เข้าแข่งขันคนรุ่นใหม่ที่หลากหลายกันออกไปทั้งระดับชั้นที่มีตั้งแต่ระดับชั้น มัธยมศึกษา ไปจนถึงพนักงานประจำ และชาวต่างชาติ รวมทั้งหมดแล้วกว่า 50 คน ต่างรวมตัวกันอยู่ Lifelong Learning Center สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่วันที่ 18 – 19 พ.ค. 67 ทำงาน กิน นอน ใช้ชีวิตในทุกมุมเป็นระยะเวลากว่า 24 ชั่วโมง ทั้งจับกลุ่มรวม ปรึกษาเมนเทอร์ บริหารแบ่งหน้าที่ ซ้อมพรีเซนเทชัน และเสนอโปรโตไทป์ตัวอย่าง ภาพไม่ต่างกับซีรีย์เกาหลีชื่อดังเรื่องหนึ่ง เพื่อเสกไอเดีย ให้ออกมาเป็นนวัตกรรมที่ยกระดับสังคมในเวลาอันจำกัด   “Hack” กันยันเช้า เพราะหยุดเพียงเสี้ยวนาที อาจคลาดกันการคว้าชัยในสนามที่ไอเดียทุกคนถูกปลุกให้ตื่นเสมอ ทุกมุมของอาคารอเนกประสงค์ คือพื้นที่แห่งการทดลอง แก้ไข ปรับกลยุทธ์ ของทุกทีม เพื่อให้มั่นใจที่สุดว่าไอเดียของตัวเองที่เสนอต่อคณะกรรมการในวันพิชชิ่ง (Pitching Day) ของเช้าวันรุ่งขึ้น จะซื้อใจกรรมการ พร้อมตะโกนให้รู้ว่าพวกเขาคือ “ของจริง”  ภายในเวลาแค่ 10 นาที มันคืออุปสรรคด่านสุดท้ายของทุกทีม เวลานับถอยหลังลงอย่างรวดเร็วนำเสนอไอเดียได้ไม่ดีพอในกรอบเวลา หรือตอบคำถามที่ถูกคณะกรรมการยิงมาต่อเนื่องได้ไม่เคลียร์ เสียงกระดิ่งบอกหมดเวลาอาจหมายถึงอวสานของแนวคิดที่ปั้นกันมาทั้ง 24 ชั่วโมง เพราะแม้ไอเดียจะล้ำค่าเพียงใด แต่สิ่งสำคัญมันจะเป็นไปได้มากแค่ไหน? จะไปต่ออย่างไร? หรือแน่ใจได้อย่างไรว่าระบบจะเสถียรและแม่นยำได้มากพอจะใช้งานมัน” ซึ่งบางคำถามก็ปราบเซียนจนบางทีมไปไม่เป็น  กระนั้น คำถามที่กระหน่ำโถมเข้ามา ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความเชื่อมั่นในไอเดียของตนเองได้ และนี่คือโฉมหน้าของทีมชนะเลิศ ที่พิสูจน์ตัวเองในการเอาชนะกับสมรภูมิพิชชิ่งเดย์ นอกจากจะได้เงินรางวัล 70,000 แล้วนั้น ก็ได้เปิดประตูตัวเองเข้าสู่อนาคตในวงการเทคโนโลยี และแน่นอนกลุ่มบริษัทซีดีจี เองก็มองเห็นโอกาสจากนวัตกรรมที่เกิดขึ้น และพร้อมสนับสนุนผลักดันให้ไอเดียเหล่าได้เติบโต แข็งแรง และผสานความร่วมมือซึ่งกันและกัน    TEES นวัตกรรมโซลูชัน วัดส่วนสูงผู้สูงวัย และผู้ป่วยติดเตียงจาก “ใบหน้า”   TEES คือทีมชนะเลิศประจำการแข่งขันในซีซันนี้ ด้วยการคิดค้นไอเดียที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ จากการวัดส่วนสูงทั้งหมดที่อาศัยเพียงสัดส่วนของ “ใบหน้า” เท่านั้น จากผลงานสุดว้าวส่งผลให้พวกเขาทะยานขึ้นจุดสูงสุดของการแข่งขันด้วยรางวัลชนะเลิศ และคว้าเงินรางวัลกว่า 70,000 บาทมาครอง   4 คนรุ่นใหม่สายเลือดประเทศเมียนมา นักศึกษาจาก ม.ลาดกระบัง คือม้ามืดนอกสายตาที่ไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรมากนัก แต่กลับสร้างความตื่นเต้นทันทีเมื่อยืนอยู่บนเวทีนำเสนอผลงาน พร้อมกับผลงานที่ ฉีกจากกลุ่มอื่น ๆ โดยสิ้นเชิงด้วยกับผลงานใบหน้า ที่แทนส่วนสูงของผู้ป่วย    “การใช้โซลูชันที่ล้ำสมัยอาจมีค่าใช้จ่ายสูง และเกิดความยุ่งยากซับซ้อน เช่น กล้องขาตั้งขนาดใหญ่ หรือคนที่คอยจัดการท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเสถียร แต่ของเรานั้นรวดเร็ว ง่ายดาย เพียงแค่สมาร์ทโฟนที่สามารถถ่ายบริเวณใบหน้าก็เพียงพอแล้ว นี่คือเหตุผลที่เราเลือกแนวทางนี้ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้แน่นอน” ทูรา ออง หนึ่งในสมาชิกทีมกล่าว  “ด้วยระยะเวลาแค่ข้ามคืน มันเหมือนดึงศักยภาพเราออกมาเต็มที่โดยที่เราไม่รู้ตัว และที่สำคัญคือการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเชื่อคือสิ่งที่ตอบโจทย์สังคมหรือเปล่า การแข่งขันครั้งนี้ช่วยให้เราสามารถทดสอบศักยภาพตัวเองว่า เราเจ๋งแค่ไหน แพทชั่นมีแค่ไหน” เอย มยัต เว กล่าวทิ้งท้าย    ผลลัพธ์อันแสนจะโดดเด่นจากพลังคนรุ่นใหม่จากหลายทีมแสดงให้เห็นว่าโซลูชันใหม่ ๆ ไม่ต้องใช้เวลานานเสมอไป แต่หัวใจสำคัญเลยคือทีมเวิร์ก ความหลากหลายของทักษะ มุมมอง หลอมรวมกันผ่าน แพชชั่นในเรื่องเดียวกัน เป็นเหมือนน้ำมันหล่อลื่นให้ไอเดียนี้เป็นจริงได้ทันที ส่งผลให้เกิดความสร้างสรรค์ของไอเดียที่ตอบโจทย์สังคมที่ท้าทายอย่างไม่รู้จบ     กลุ่มบริษัทซีดีจี ภายใต้โครงการ “Code Their Dreams” เชื่อมั่นว่า การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่สามารถช่วยพัฒนาการศึกษาและความพร้อมด้านเทคโนโลยี เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคตได้ ซึ่งการแข่งขัน Hackathon ครั้งนี้ น้อง ๆ ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้ไม่ได้รางวัลกลับไป แต่สิ่งสำคัญคือการจุดประกายไฟในตัวเอง ผ่านการทำงานกับคนเก่ง ๆ ตลอดจนได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ช่วยติดอาวุธพร้อมสำหรับยกถัดไปในเวทีต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 

24 ชั่วโมงสุดเข้มข้น เมื่อพลังคนรุ่นใหม่เข้าสู่เวทีประชันไอเดีย สร้างนวัตกรรมโซลูชันสุดล้ำ กับโจทย์สุดหิน ในงาน CDG Hackathon ซีซัน 2

นวัตกรรมโซลูชันที่ขับเคลื่อนสังคมได้จริง ไม่จำเป็นต้องมาจากองค์กรใหญ่ที่มีต้นทุนให้ลองผิดถูกเสมอไป แต่เกิดได้จาก ‘เพชชั่น’ และพลังไอเดียแปลกใหม่ของคนรุ่นใหม่        บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือกลุ่มซีดีจี ผู้นำด้านบริการเทคโนโลยีอัตลักษณ์ดิจิทัล และ 42 Bangkok กำหนดโจทย์ “ระบบวัดส่วนสูงสำหรับผู้ป่วยติดเตียง” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้สร้างโซลูชัน ผ่านการนำเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาผ่านการเขียนโค้ดมาช่วยเหลือเจ้าในหน้าที่ในการวัดส่วนสูงของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุติดเตียง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การประเมินสุขภาพ ตลอดจนพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ไอเดียเหล่านี้จะลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ และเตรียมพร้อมกับความท้าทายของการเข้าสู่สังคมสูงวัย        เหล่าผู้เข้าแข่งขันคนรุ่นใหม่ที่หลากหลายกันออกไปทั้งระดับชั้นที่มีตั้งแต่ระดับชั้น มัธยมศึกษา ไปจนถึงพนักงานประจำ และชาวต่างชาติ รวมทั้งหมดแล้วกว่า 50 คน ต่างรวมตัวกันอยู่ Lifelong Learning Center สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่วันที่ 18 – 19 พ.ค. 67 ทำงาน กิน นอน ใช้ชีวิตในทุกมุมเป็นระยะเวลากว่า 24 ชั่วโมง ทั้งจับกลุ่มรวม ปรึกษาเมนเทอร์ บริหารแบ่งหน้าที่ ซ้อมพรีเซนเทชัน และเสนอโปรโตไทป์ตัวอย่าง ภาพไม่ต่างกับซีรีย์เกาหลีชื่อดังเรื่องหนึ่ง เพื่อเสกไอเดีย ให้ออกมาเป็นนวัตกรรมที่ยกระดับสังคมในเวลาอันจำกัด   “Hack” กันยันเช้า เพราะหยุดเพียงเสี้ยวนาที อาจคลาดกันการคว้าชัยในสนามที่ไอเดียทุกคนถูกปลุกให้ตื่นเสมอ ทุกมุมของอาคารอเนกประสงค์ คือพื้นที่แห่งการทดลอง แก้ไข ปรับกลยุทธ์ ของทุกทีม เพื่อให้มั่นใจที่สุดว่าไอเดียของตัวเองที่เสนอต่อคณะกรรมการในวันพิชชิ่ง (Pitching Day) ของเช้าวันรุ่งขึ้น จะซื้อใจกรรมการ พร้อมตะโกนให้รู้ว่าพวกเขาคือ “ของจริง”        ภายในเวลาแค่ 10 นาที มันคืออุปสรรคด่านสุดท้ายของทุกทีม เวลานับถอยหลังลงอย่างรวดเร็วนำเสนอไอเดียได้ไม่ดีพอในกรอบเวลา หรือตอบคำถามที่ถูกคณะกรรมการยิงมาต่อเนื่องได้ไม่เคลียร์ เสียงกระดิ่งบอกหมดเวลาอาจหมายถึงอวสานของแนวคิดที่ปั้นกันมาทั้ง24 ชั่วโมง เพราะแม้ไอเดียจะล้ำค่าเพียงใด แต่สิ่งสำคัญมันจะเป็นไปได้มากแค่ไหน? จะไปต่ออย่างไร? หรือแน่ใจได้อย่างไรว่าระบบจะเสถียรและแม่นยำได้มากพอจะใช้งานมัน” ซึ่งบางคำถามก็ปราบเซียนจนบางทีมไปไม่เป็น        กระนั้น คำถามที่กระหน่ำโถมเข้ามา ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความเชื่อมั่นในไอเดียของตนเองได้ และนี่คือโฉมหน้าของทีมชนะเลิศ ที่พิสูจน์ตัวเองในการเอาชนะกับสมรภูมิพิชชิ่งเดย์ นอกจากจะได้เงินรางวัล 70,000 แล้วนั้น ก็ได้เปิดประตูตัวเองเข้าสู่อนาคตในวงการเทคโนโลยี และแน่นอนกลุ่มบริษัทซีดีจี เองก็มองเห็นโอกาสจากนวัตกรรมที่เกิดขึ้น และพร้อมสนับสนุนผลักดันให้ไอเดียเหล่าได้เติบโต แข็งแรง และผสานความร่วมมือซึ่งกันและกัน   TEES นวัตกรรมโซลูชัน วัดส่วนสูงผู้สูงวัย และผู้ป่วยติดเตียงจาก “ใบหน้า” TEES คือทีมชนะเลิศประจำการแข่งขันในซีซันนี้ ด้วยการคิดค้นไอเดียที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ จากการวัดส่วนสูงทั้งหมดที่อาศัยเพียงสัดส่วนของ “ใบหน้า” เท่านั้น จากผลงานสุดว้าวส่งผลให้พวกเขาทะยานขึ้นจุดสูงสุดของการแข่งขันด้วยรางวัลชนะเลิศ และคว้าเงินรางวัลกว่า 50,000 บาทมาครอง 4 คนรุ่นใหม่สายเลือดประเทศเมียนมา นักศึกษาจาก ม.ลาดกระบัง คือม้ามืดนอกสายตาที่ไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรมากนัก แต่กลับสร้างความตื่นเต้นทันทีเมื่อยืนอยู่บนเวทีนำเสนอผลงาน พร้อมกับผลงานที่ ฉีกจากกลุ่มอื่น ๆ โดยสิ้นเชิงด้วยกับผลงานใบหน้า ที่แทนส่วนสูงของผู้ป่วย “การใช้โซลูชันที่ล้ำสมัยอาจมีค่าใช้จ่ายสูง และเกิดความยุ่งยากซับซ้อน เช่น กล้องขาตั้งขนาดใหญ่ หรือคนที่คอยจัดการท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเสถียร แต่ของเรานั้นรวดเร็ว ง่ายดาย เพียงแค่สมาร์ทโฟนที่สามารถถ่ายบริเวณใบหน้าก็เพียงพอแล้ว นี่คือเหตุผลที่เราเลือกแนวทางนี้ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้แน่นอน” ทูรา ออง หนึ่งในสมาชิกทีมกล่าว “ด้วยระยะเวลาแค่ข้ามคืน มันเหมือนดึงศักยภาพเราออกมาเต็มที่โดยที่เราไม่รู้ตัว และที่สำคัญคือการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเชื่อคือสิ่งที่ตอบโจทย์สังคมหรือเปล่า การแข่งขันครั้งนี้ช่วยให้เราสามารถทดสอบศักยภาพตัวเองว่า เราเจ๋งแค่ไหน แพทชั่นมีแค่ไหน” เอย มยัต เว กล่าวทิ้งท้าย   ผลลัพธ์อันแสนจะโดดเด่นจากพลังคนรุ่นใหม่จากหลายทีมแสดงให้เห็นว่าโซลูชันใหม่ ๆ ไม่ต้องใช้เวลานานเสมอไป แต่หัวใจสำคัญเลยคือทีมเวิร์ก ความหลากหลายของทักษะ        มุมมอง หลอมรวมกันผ่าน แพชชั่นในเรื่องเดียวกัน เป็นเหมือนน้ำมันหล่อลื่นให้ไอเดียนี้เป็นจริงได้ทันที ส่งผลให้เกิดความสร้างสรรค์ของไอเดียที่ตอบโจทย์สังคมที่ท้าทายอย่างไม่รู้จบ กลุ่มบริษัทซีดีจี ภายใต้โครงการ “Code Their Dreams” เชื่อมั่นว่า การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่สามารถช่วยพัฒนาการศึกษาและความพร้อมด้านเทคโนโลยี เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคตได้ ซึ่งการแข่งขัน Hackathon ครั้งนี้ น้อง ๆ ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้ไม่ได้รางวัลกลับไป แต่สิ่งสำคัญคือการจุดประกายไฟในตัวเอง ผ่านการทำงานกับคนเก่ง ๆ ตลอดจนได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ช่วยติดอาวุธพร้อมสำหรับยกถัดไปในเวทีต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

เขย่าวงการโลจิสติกส์! จับตา ‘นอสตร้า โลจิสติกส์’ สยายปีกรุกตลาดผู้ผลิตด้วย NOSTRA LOGISTICS TMS แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่งอัจฉริยะ ชู AI สร้างความต่าง ยกระดับงานขนส่งภาคอุตสาหกรรม

NOSTRA LOGISTICS พร้อมเดินเกมรุกก้าวสู่ผู้นำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มบริหารงานขนส่งในตลาดเทคโนโลยีโลจิสติกส์เต็มกำลัง มุ่งตอบโจทย์ความต้องการของคู่ค้าธุรกิจภาคอุตสาหกรรมการผลิต หรือ 1PL (First Party Logistics) ผลักดันแพลตฟอร์ม “NOSTRA LOGISTICS TMS” พลิกโฉมนวัตกรรมการขนส่งอัจฉริยะ ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อนด้วย AI และ Data Analytics เสิร์ฟคู่ค้าด้วยโซลูชันที่ช่วยยกระดับการวิเคราะห์ และการบริหารทรัพยากรที่คุ้มค่า ลดต้นทุน พร้อมเชื่อมต่อกับพันธมิตรงานขนส่งครบทุกมิติ ติดอาวุธเสริมแกร่งให้ทุกธุรกิจแข็งแกร่งเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืน   นอสตร้า โลจิสติกส์ (NOSTRA LOGISTICS) ผู้ให้บริการโซลูชัน และเทคโนโลยีแพลตฟอร์มการขนส่งอัจฉริยะ สำหรับงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งเป็นหนึ่งธุรกิจในเครือกลุ่มบริษัท ซีดีจี พร้อมเดินเกมรุกดัน “NOSTRA LOGISTICS TMS แพลตฟอร์มบริหารจัดการงานขนส่งอัจฉริยะ” สู่ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมการผลิต ต่อยอดการใช้ AI และ Data Analytics มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมโซลูชันที่ยกระดับในทุกกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ที่ครบจบในแพลตฟอร์มเดียว และเชื่อมต่อข้อมูลให้เป็นส่วนหนึ่งกับระบบหลังบ้านเดิมของคู่ค้าได้อย่างกลมกลืน พลิกโฉมคู่ค้าให้สามารถบริหารจัดการงานขนส่งที่ท้าทาย ซับซ้อน ให้สะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่าการลงทุน   นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการอาวุโสส่วนซัพพลายเชนโซลูชัน-เทคโนโลยี บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า จากผลวิจัยกรุงศรีฯ คาดการณ์ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเฉลี่ย 3.4% ต่อปีในช่วงปี 2567-2569 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 10 ปีก่อนเกิดการระบาด COVID-19 (ปี 2553-2562) อยู่ที่ 3.7% โดยในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตนั้นปัจจัยการเติบโตจะได้รับอิทธิพลจากภาคการท่องเที่ยว และการสนับสนุนจากนโยบายของภาครัฐเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม คุณวรินทร เสริมต่อว่า หากมองที่อุตสาหกรรมการผลิตอย่างเดียว ปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนการเติบโตต่อเนื่องในช่วง 3 ปีข้างหน้า คือ การเร่งเครื่องพัฒนาโซลูชันไอทีให้ครบวงจร จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจก้าวข้ามปัญหานี้ได้ เพราะที่ผ่านมาเราพบว่าภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต ยังติดหล่มอยู่กับปัญหาเดิม ๆ ด้านโลจิสติกส์ เช่น การจัดการข้อมูลการขนส่ง การบริหารขั้นตอนการขนส่ง รวมถึงการบริหารบริษัทเอาท์ซอร์สขนส่งให้เป็นระบบ ลดการผิดพลาด และคุ้มค่า เพราะต้นทุนสูงและควบคุมได้ยาก   Resource Optimization & VRP การจัดสรรทรัพยากรรถขนส่ง การเลือกสินค้าและรถขนส่งสินค้า ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขได้ เช่น ประเภทรถ ขนาดบรรทุก กรอบเวลาในการจัดส่ง รวมถึงต้นทุนต่อเที่ยววิ่ง โดยสามารถจัดสรรได้ทั้งรถขนส่งขององค์กรเองหรือรถรับจ้างบริการขนส่ง โดยระบบจะวิเคราะห์ และเสนอทางเลือกพร้อมคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าเที่ยววิ่ง เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เช่น ต้นทุนต่ำที่สุด เส้นทางที่ดีที่สุด หรือเลือกตามโควตาการใช้รถขนส่งของผู้รับจ้างขนส่งแต่ละราย Outsource Management การบริหารจัดการผู้ให้บริการขนส่ง เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลและร่วมบริหารงานขนส่ง เช่น จัดโควตา จัดเกรดผลการทำงาน ต้นทุนค่าเที่ยววิ่ง และติดตามเที่ยววิ่งรถแบบเรียลไทม์ผ่าน Dashboard ที่จะเห็นภาพรวม และติดตามงานขนส่งได้ราวกับขนส่งด้วยตนเอง Seamless Integration การบูรณาการเข้ากับระบบอื่น ๆ เช่น WMS, ERP หรือโปรแกรมบัญชี เพื่อลดความจำเป็นและความผิดพลาดการในป้อนข้อมูลซ้ำซ้อน ด้วยการแชร์ข้อมูลร่วมกัน ทำให้ธุรกิจมี Ecosystem ที่เชื่อมต่อกัน และทำงานได้เป็นหนึ่งเดียวในทุกกระบวนการ   “ที่ผ่านมาเรามุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมด้านโลจิสติกส์มาโดยตลอด และตั้งใจจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของตลาดนี้ให้ก้าวไปอีกขั้น ผ่านบทบาทการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่พัฒนาโซลูชั่นให้เหมาะสมกับธุรกิจทุกประเภทได้มีระบบการบริหารงานขนส่งที่ ‘อัจฉริยะ’ นีคือโมเดลธุรกิจที่ทำให้เราแตกต่าง พร้อมก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันตลาดนี้ให้เติบโตยั่งยืน” คุณวรินทร ทิ้งท้าย  

CDG executive, Dr. Thanaporn Thitisawat has achieved a notable feat by winning the “Leader of Technology” award in the Technology category at the esteemed Future Trends Ahead & Awards 2024 event.

Recognized as one of the premier seminars and awards ceremonies of the year, we saw participation from over 360 organizations in Thailand, all competing for recognition. Alongside celebrating current achievements, the event also shed light on anticipated future trends for 2024 across various sectors, including the economy, business, marketing, technology, sustainability, and more, offering valuable insights for organizations striving to lead in the future business landscape. The Future Trends Leader Awards acknowledges organizational leaders who demonstrate expertise and innovation in aligning technology trends with their organizations’ goals. The selection process for these awards, took place on February 7, 2024. The selection process involved evaluation by a committee of experts, analysis of data from Social Listening Tools, and input from external voters. With a robust competition among numerous organizations, the awards ceremony recognized leaders and trendsetters across various categories, with a total of 95 awards presented to outstanding individuals and organizations. Dr. Thanaporn Thitisawat, the former President and current Managing Director and leader of CDG Group’s GIS Business, emerged as the winner of the Future Trends Leader Award in the “Leader of Technology” category. Dr. Thitisawat’s leadership exemplifies innovation, usability, and integrity, key criteria in the selection process. CDG Group’s commitment to leveraging technology for societal betterment and its focus on providing IT solutions to support governmental, enterprise, and private sector initiatives reflect their dedication to driving positive change and achieving business goals efficiently. Furthermore, the Future Trends Ahead & Awards 2024 event offered insights into emerging trends across various business domains, providing organizations with valuable guidance to navigate and excel in the evolving business landscape. This emphasis on future-oriented strategies underscores the importance of adaptability and innovation for organizations aiming to lead in the business era of tomorrow.