e-KYC: The Efficient and Secure Solution for Identity Verification

In the online world where anyone can easily impersonate someone else, there must be a system that can efficiently verify identity. The electronic Know Your Customer (e-KYC) is the right solution for customers to verify their identities without counterfeits. Combined with the Optical Character Recognition (OCR) which accurately converts an ID card image into a text, it helps save time, reduce mistakes, and prevent data theft.

Identity verification will become even more secure with Passive Liveness detection through a biometric forgery detection technology or presentation attack detection according to ISO 30107-3 Level 2 from iBeta Institute. This technology can be applied to various systems such as e-KYC Passive Liveness. It will verify if the pictures taken are genuine or if they are taken from the internet. Unlike the Active Liveness, the Passive Liveness will automatically verify identity without needing any action from the user for a better overall user experience.

Related NEWS & EVENTS

24 ชั่วโมงสุดเข้มข้น เมื่อพลังคนรุ่นใหม่เข้าสู่เวทีประชันไอเดีย สร้างนวัตกรรมโซลูชันสุดล้ำ กับโจทย์สุดหิน ในงาน CDG Hackathon ซีซัน 2

  นวัตกรรมโซลูชันที่ขับเคลื่อนสังคมได้จริง ไม่จำเป็นต้องมาจากองค์กรใหญ่ที่มีต้นทุนให้ลองผิดถูกเสมอไป แต่เกิดได้จาก ‘เพชชั่น’ และพลังไอเดียแปลกใหม่ของคนรุ่นใหม่  บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือกลุ่มซีดีจี ผู้นำด้านบริการเทคโนโลยีอัตลักษณ์ดิจิทัล และ 42 Bangkok กำหนดโจทย์ “ระบบวัดส่วนสูงสำหรับผู้ป่วยติดเตียง” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้สร้างโซลูชัน ผ่านการนำเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาผ่านการเขียนโค้ดมาช่วยเหลือเจ้าในหน้าที่ในการวัดส่วนสูงของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุติดเตียง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การประเมินสุขภาพ ตลอดจนพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ไอเดียเหล่านี้จะลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ และเตรียมพร้อมกับความท้าทายของการเข้าสู่สังคมสูงวัย  เหล่าผู้เข้าแข่งขันคนรุ่นใหม่ที่หลากหลายกันออกไปทั้งระดับชั้นที่มีตั้งแต่ระดับชั้น มัธยมศึกษา ไปจนถึงพนักงานประจำ และชาวต่างชาติ รวมทั้งหมดแล้วกว่า 50 คน ต่างรวมตัวกันอยู่ Lifelong Learning Center สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่วันที่ 18 – 19 พ.ค. 67 ทำงาน กิน นอน ใช้ชีวิตในทุกมุมเป็นระยะเวลากว่า 24 ชั่วโมง ทั้งจับกลุ่มรวม ปรึกษาเมนเทอร์ บริหารแบ่งหน้าที่ ซ้อมพรีเซนเทชัน และเสนอโปรโตไทป์ตัวอย่าง ภาพไม่ต่างกับซีรีย์เกาหลีชื่อดังเรื่องหนึ่ง เพื่อเสกไอเดีย ให้ออกมาเป็นนวัตกรรมที่ยกระดับสังคมในเวลาอันจำกัด   “Hack” กันยันเช้า เพราะหยุดเพียงเสี้ยวนาที อาจคลาดกันการคว้าชัยในสนามที่ไอเดียทุกคนถูกปลุกให้ตื่นเสมอ ทุกมุมของอาคารอเนกประสงค์ คือพื้นที่แห่งการทดลอง แก้ไข ปรับกลยุทธ์ ของทุกทีม เพื่อให้มั่นใจที่สุดว่าไอเดียของตัวเองที่เสนอต่อคณะกรรมการในวันพิชชิ่ง (Pitching Day) ของเช้าวันรุ่งขึ้น จะซื้อใจกรรมการ พร้อมตะโกนให้รู้ว่าพวกเขาคือ “ของจริง”  ภายในเวลาแค่ 10 นาที มันคืออุปสรรคด่านสุดท้ายของทุกทีม เวลานับถอยหลังลงอย่างรวดเร็วนำเสนอไอเดียได้ไม่ดีพอในกรอบเวลา หรือตอบคำถามที่ถูกคณะกรรมการยิงมาต่อเนื่องได้ไม่เคลียร์ เสียงกระดิ่งบอกหมดเวลาอาจหมายถึงอวสานของแนวคิดที่ปั้นกันมาทั้ง 24 ชั่วโมง เพราะแม้ไอเดียจะล้ำค่าเพียงใด แต่สิ่งสำคัญมันจะเป็นไปได้มากแค่ไหน? จะไปต่ออย่างไร? หรือแน่ใจได้อย่างไรว่าระบบจะเสถียรและแม่นยำได้มากพอจะใช้งานมัน” ซึ่งบางคำถามก็ปราบเซียนจนบางทีมไปไม่เป็น  กระนั้น คำถามที่กระหน่ำโถมเข้ามา ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความเชื่อมั่นในไอเดียของตนเองได้ และนี่คือโฉมหน้าของทีมชนะเลิศ ที่พิสูจน์ตัวเองในการเอาชนะกับสมรภูมิพิชชิ่งเดย์ นอกจากจะได้เงินรางวัล 70,000 แล้วนั้น ก็ได้เปิดประตูตัวเองเข้าสู่อนาคตในวงการเทคโนโลยี และแน่นอนกลุ่มบริษัทซีดีจี เองก็มองเห็นโอกาสจากนวัตกรรมที่เกิดขึ้น และพร้อมสนับสนุนผลักดันให้ไอเดียเหล่าได้เติบโต แข็งแรง และผสานความร่วมมือซึ่งกันและกัน    TEES นวัตกรรมโซลูชัน วัดส่วนสูงผู้สูงวัย และผู้ป่วยติดเตียงจาก “ใบหน้า”   TEES คือทีมชนะเลิศประจำการแข่งขันในซีซันนี้ ด้วยการคิดค้นไอเดียที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ จากการวัดส่วนสูงทั้งหมดที่อาศัยเพียงสัดส่วนของ “ใบหน้า” เท่านั้น จากผลงานสุดว้าวส่งผลให้พวกเขาทะยานขึ้นจุดสูงสุดของการแข่งขันด้วยรางวัลชนะเลิศ และคว้าเงินรางวัลกว่า 70,000 บาทมาครอง   4 คนรุ่นใหม่สายเลือดประเทศเมียนมา นักศึกษาจาก ม.ลาดกระบัง คือม้ามืดนอกสายตาที่ไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรมากนัก แต่กลับสร้างความตื่นเต้นทันทีเมื่อยืนอยู่บนเวทีนำเสนอผลงาน พร้อมกับผลงานที่ ฉีกจากกลุ่มอื่น ๆ โดยสิ้นเชิงด้วยกับผลงานใบหน้า ที่แทนส่วนสูงของผู้ป่วย    “การใช้โซลูชันที่ล้ำสมัยอาจมีค่าใช้จ่ายสูง และเกิดความยุ่งยากซับซ้อน เช่น กล้องขาตั้งขนาดใหญ่ หรือคนที่คอยจัดการท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเสถียร แต่ของเรานั้นรวดเร็ว ง่ายดาย เพียงแค่สมาร์ทโฟนที่สามารถถ่ายบริเวณใบหน้าก็เพียงพอแล้ว นี่คือเหตุผลที่เราเลือกแนวทางนี้ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้แน่นอน” ทูรา ออง หนึ่งในสมาชิกทีมกล่าว  “ด้วยระยะเวลาแค่ข้ามคืน มันเหมือนดึงศักยภาพเราออกมาเต็มที่โดยที่เราไม่รู้ตัว และที่สำคัญคือการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเชื่อคือสิ่งที่ตอบโจทย์สังคมหรือเปล่า การแข่งขันครั้งนี้ช่วยให้เราสามารถทดสอบศักยภาพตัวเองว่า เราเจ๋งแค่ไหน แพทชั่นมีแค่ไหน” เอย มยัต เว กล่าวทิ้งท้าย    ผลลัพธ์อันแสนจะโดดเด่นจากพลังคนรุ่นใหม่จากหลายทีมแสดงให้เห็นว่าโซลูชันใหม่ ๆ ไม่ต้องใช้เวลานานเสมอไป แต่หัวใจสำคัญเลยคือทีมเวิร์ก ความหลากหลายของทักษะ มุมมอง หลอมรวมกันผ่าน แพชชั่นในเรื่องเดียวกัน เป็นเหมือนน้ำมันหล่อลื่นให้ไอเดียนี้เป็นจริงได้ทันที ส่งผลให้เกิดความสร้างสรรค์ของไอเดียที่ตอบโจทย์สังคมที่ท้าทายอย่างไม่รู้จบ     กลุ่มบริษัทซีดีจี ภายใต้โครงการ “Code Their Dreams” เชื่อมั่นว่า การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่สามารถช่วยพัฒนาการศึกษาและความพร้อมด้านเทคโนโลยี เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคตได้ ซึ่งการแข่งขัน Hackathon ครั้งนี้ น้อง ๆ ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้ไม่ได้รางวัลกลับไป แต่สิ่งสำคัญคือการจุดประกายไฟในตัวเอง ผ่านการทำงานกับคนเก่ง ๆ ตลอดจนได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ช่วยติดอาวุธพร้อมสำหรับยกถัดไปในเวทีต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 

Presenting scholarship of “Yao-Wa-Chon-Thaew-Na” Project

CDG Group by chief executive Nart Liucharoen has joined hand with the Department of Provincial Administration, Ministry of Interior by Director-General Arthit Boonyasophat, and the Vimuttayalaya Institute by Phra Maha Vuttichai Vajiramedhi (V. Vajiramedhi) presenting scholarship of “Yao-Wa-Chon-Thaew-Na” project consecutively for the third time.