NOSTRA LOGISTICS แนะกลุ่มค้าปลีกและโลจิสติกส์ ใช้ VRP บริหารจัดการทรัพยากรการขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพงานโลจิสติกส์สูงสุด
นอสตร้า โลจิสติกส์ ผู้พัฒนาโซลูชันและแพลทฟอร์มด้านการบริหารจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ และระบบบริหารจัดการขนส่งอัตโนมัติ หรือ NOSTRA LOGISTICS TMS แนะธุรกิจกลุ่มค้าปลีกและโลจิสติกส์ต่อยอดเสริมกำลัง TMS ด้วย VRP หรือ Vehicle Routing Problem เครื่องมือวางแผนการใช้ทรัพยากรการขนส่งอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลกำไรด้วยการลดต้นทุนขนส่งกว่า 15% โดย NOSTRA LOGISTICS VRP มีจุดเด่นที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี GIS ระดับโลกจากซอฟต์แวร์ “ArcGIS” ผนวกกับข้อมูลแผนที่ Map Service ที่แม่นยำที่สุดในประเทศไทยจาก NOSTRA Map ทำให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลที่แม่นยำ เพื่อขยายขอบเขตความสามารถในการวางแผนจัดเส้นทางการขนส่งและลำดับการจัดส่ง จากที่ตั้งจุดส่งสินค้าหรือจุดกระจายสินค้าไปยังลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความสามารถในการบรรทุกสินค้าของยานพาหนะที่มีอยู่ และสอดคล้องตามข้อจำกัดของทรัพยากร ระยะเวลา และความต้องการของลูกค้า รวมถึงกรณีจัดสรรงานขนส่งให้กับผู้ให้บริการขนส่งหลายราย พร้อมประเมินระยะทางและเวลาการจัดส่งจากเส้นทางจริงอย่างเป็นระบบ ลดเวลาการทำงานแบบ Manual ช่วยแก้ปัญหาการจัดเส้นทาง การเลือกใช้ทรัพยากรการขนส่งได้อย่างคุ้มค่า และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อความพึงพอใจสูงสุด
นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า ในการทำธุรกิจ ผลกำไร คือ ปัจจัยหนึ่งที่บ่งชี้ความสำเร็จ แต่สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ในปัจจุบัน ตั้งแต่ธุรกิจการผลิต ธุรกิจคลังสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่มีการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวเลขของยอดขายไม่ใช่คำตอบเดียวที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้น คือ “การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บุคลากร ยานพาหนะ พลังงาน เครื่องมือ ฯลฯ รวมไปถึงงบประมาณในการบริหารจัดการธุรกิจที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สร้างผลผลิตหรือบริการให้กับลูกค้าได้มากที่สุดและดีที่สุด
“การพัฒนาแพลทฟอร์มเทคโนโลยีบริหารจัดการงานขนส่ง ที่คำนึงถึงเพียงแค่การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านงานขนส่ง และความสำเร็จในการจัดส่งสินค้าให้ถึงที่หมายเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า ไม่เพียงพออีกต่อไป โดยจากรายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.1 ต่อ GDP ของประเทศ แบ่งสัดส่วนออกเป็น ต้นทุนการขนส่งสินค้า 46.1% ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 46.5% และ ต้นทุนการบริหารจัดการอยู่ที่ 7.4% มูลค่ากว่า 2,215 พันล้านบาท มีมูลค่าลดลงเล็กน้อยจากปี 2562 ตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ตัวเลขต้นทุนโลจิสติกส์ยังคงเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อความต้องการที่ส่งผลให้การบริการขนส่งสินค้าเติบโตอย่างก้าวกระโดด และไม่ได้จำกัดแค่ในกลุ่มธุรกิจ (B2B) แต่ขยายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคโดยตรง ทั้ง B2C และ C2C ความท้าทายจึงอยู่ที่ในขณะที่จุดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นและไม่แน่นอน แต่เวลาที่ใช้ในการส่งสินค้าต้องลดลงให้มากที่สุด ธุรกิจเองต้องปรับตัวให้ทันเพื่อสามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นระบบที่ใช้ต้องสามารถเข้ามาช่วยวิเคราะห์ต้นทุน เวลา ประมวลผลเส้นทาง และเลือกใช้ทรัพยากรการขนส่งได้อย่างคุ้มค่าการลงทุนมากที่สุด” นางวรินทรกล่าว
NOSTRA LOGISTICS แนะนำธุรกิจต่อยอดความสามารถของระบบบริหารจัดการขนส่งอัตโนมัติ (TMS) ด้วยการเชื่อมต่อ TMS กับการทำ Vehicle Routing Problem (VRP) ที่พัฒนาด้วยการใช้เทคโนโลยี GIS ระดับโลกจาก ซอฟต์แวร์ ArcGIS ผนวกกับ ข้อมูลแผนที่ที่แม่นยำที่สุดในประเทศไทย NOSTRA Map Service โดยนำข้อมูลจุดส่งสินค้ามาใช้วิเคราะห์โครงข่าย (Network analysis) จากข้อมูลถนน เส้นทาง พื้นที่ให้บริการ ประกอบกับเงื่อนไขการจราจรอื่น ๆ เช่น การจำกัดความเร็ว เดินรถทางเดียว รวมถึงเงื่อนไขของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ เช่น วัน-เวลานัดหมาย จำนวนของสินค้า ประเภทของรถ โดยสามารถค้นหาเส้นทางการเดินทางและให้คำแนะนำการเดินทางสำหรับรถบรรทุก (Truck Routing) เวลาเข้า-ออกงาน เวลาทำงานล่วงเวลา ระยะเวลาทำงาน ณ จุดส่งสินค้า นำมาสร้างเป็นชุดข้อมูลที่ใช้ในการจำลองโครงข่ายการขนส่ง (Network Dataset) ซึ่งสร้างมาจากข้อมูลจุดและเส้น การเลี้ยว และการเชื่อมต่อรูปแบบต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ต้องการเส้นทางที่สั้นที่สุด ใช้รถขนส่งจำนวนน้อยที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด หรือใช้งบประมาณน้อยที่สุด โดยจะประมวลผล และแสดงข้อมูลเส้นทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดตามเงื่อนไขที่กำหนดบนแผนที่
ทั้งนี้ นอกจาก VRP จะช่วยบริหารวางแผนเส้นทางการขนส่งอัตโนมัติเพื่อให้ได้เส้นทางที่ดีที่สุดตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้ว VRP ยังช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้มากกว่า 15% จากต้นทุนเบื้องต้นในงานด้านการขนส่ง โดยยังไม่ได้รวมเงื่อนไขพิเศษต่าง ๆ เข้าไป VRP สามารถช่วยบริหารจัดการทรัพยากรการขนส่ง (Resource Optimization) เช่น ลดเวลาการทำงานของคน จัดรถให้เหมาะสมกับของที่จะส่ง โดยลดจำนวนและขนาดรถขนส่ง หรือรวมสินค้าไปในรถคันเดียวกัน ลดการทำงานล่วงเวลา และที่สำคัญสามารถลดระยะทางการวิ่งรถจากการเลือกเส้นทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้อีกด้วย
“ในสภาวะเศรษฐกิจที่ต้องพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งภายใต้งบประมาณที่จำกัด การบริหารต้นทุนด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี VRP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการให้บริการรองรับการค้าในรูปแบบอีคอมเมิร์ซ ที่มีเงื่อนไขที่ซับซ้อน มีจุดส่งที่หลากหลาย และต้องการความรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด จึงถือเป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งต่อธุรกิจค้าปลีกและงานโลจิสติกส์” นางวรินทร กล่าวทิ้งท้าย
ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจขนส่งที่สนใจ สามารถติดต่อฝ่ายขายของบริษัทหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อโลจิสติกส์ ได้ที่ www.nostralogistics.com หรือ โทร. 02-116-4478
เกี่ยวกับ NOSTRA LOGISTICS (นอสตร้า โลจิสติกส์)
“NOSTRA LOGISTICS” (นอสตร้า โลจิสติกส์) โดย Commercial Solutions Division (CSD) ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของ บริษัท จีไอเอส จำกัด เป็นโซลูชันด้านการบริหารจัดการงานขนส่ง ได้แก่ การจัดการกลุ่มรถ (Fleet Management) การติดตามตำแหน่ง (GPS Tracking) บนแผนที่ความละเอียดสูงนอสตร้า เพิ่มความปลอดภัยในการขับรถด้วยเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) และเชื่อมโยงข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการนำเสนอโซลูชันที่ตอบโจทย์ลูกค้าอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.nostralogistics.com
#NOSTRALogistics #NOSTRAtelematics